โฆษณา

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

รู้จักกับ โรคลมแดด

สังเกตกันไหมว่าสภาพอากาศร้อนของเมืองไทยดูจะทวีความร้อนแรงมากขึ้นทุกปีๆ อากาศก็ร้อนถ้าใจคนพาลร้อนตามอากาศไปด้วย แบบนี้ไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายแน่ๆ เพราะบรรดาโรคฤดูร้อนนั้นก็มีชุกชุมมากพออยู่แล้ว อาทิ ท้องร่วง ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ โรคกลัวน้ำ ฯลฯ แล้วยังมีอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยในหน้าร้อนเช่นกัน แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก โรคที่ว่าก็คือ Heat Stroke หรือโรคลมแดด แต่บางที่ก็เรียกว่า โรคอุณหพาต หรือ โรคลมเหตุร้อน

Heat Stroke หรือโรคลมแดด เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกาย (Core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการเบื้องต้นคือ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศีรษะ ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้าง่าย และยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียน ซึ่งอาจมีอาการเพิ่มเติมอีก ได้แก่ ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว มีการตายของเซลล์ตับ หายใจเร็ว มีการบวมบริเวณปอดจากการคั่งของของเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ การสลายกล้ามเนื้อลาย ช็อคและเกิดการสะสมของลิ่มเลือดจนไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

คนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดคือ ทหาร นักกีฬากลางแจ้ง ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น คนอดนอน คนดื่มเหล้าจัด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ผู้สูงอายุกับเด็กเล็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่เตรียมพร้อมรับมือไว้บ้างก็น่าจะดี เพราะปิดเทอมนี้รับรองเลยว่าเจ้าตัวเล็กจะต้องวิ่งเล่นอยู่กลางแดดทั้งวันแน่ๆ

วิธีปฐมพยาบาล

- นำผู้ป่วยเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง แล้วถอดเสื้อผ้าออก
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน
- เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

วิธีการป้องกันโรคลมแดด

1. ให้ลูกหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด
2. ในวันที่มีอากาศร้อนจัดก่อนออกจากบ้านควรให้ดื่มลูกน้ำก่อน 1-2 แก้ว และหากจำเป็นต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน ควรให้ลูกดื่มน้ำบ่อยๆ แม้ลูกจะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และถึงแม้ว่าจะอยู่ในที่ร่มก็ควรให้ดื่มน้ำบ่อยๆ วิธีสังเกตว่าลูกได้รับน้ำเพียงพอหรือยังคือ ให้สังเกตปากลูกว่าแห้งหรือยังชุ่มชื้นอยู่ หากปากลูกแห้งนั่นก็แสดงว่าลูกเริ่มมีอาการขาดน้ำแล้ว
3. หน้าร้อนให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี
4. ก่อนออกจากบ้านควรทาครีมกันแดดสำหรับเด็กที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไปให้กับลูกทุกครั้ง
8. สำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี และอย่าปล่อยให้เด็กหรือผู้สูงอายุอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพังโดยเด็ดขาด