โฆษณา

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ทำไมลูกดื้อ เกิดอะไรขึ้นกับสมอง

The Science of Parenting เขียนโดย Ms. Margot Sunderland, Director of Education and Training, Center for Child Mental Health, London ได้กล่าวไว้ว่าช่วงวัยทองของสมองลูกนั้นอยู่ที่ แรกเกิดจนถึง 5 ขวบปีแรกที่สมองสามารถพัฒนา และทำการเชื่อมต่อกันอย่างรวดเร็ว เหมาะที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ใหม่ๆ ที่พ่อแม่ เป็นผู้เริ่มสร้างเริ่มสอนให้ และต้องเป็นการให้ที่สม่ำเสมอจึงจะส่งผลดีต่องพัฒนาการสมองของลูก

การดื้อของลูกว่ามีสาเหตุปัจจัย 4 สาเหตุ
โดย มาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ กการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่มาก สมองส่วนควบคุมอารมณ์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ และการโหยหาทางด้านจิตใจ ซึ่งต่างก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่น่ารักนี้ออกมา เราจึงต้องเรียนรู้และพร้อมกับการทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมดื้อของลูกกัน ทั้งนี้ Ms. Margot Sunderland d Director of Education and Training, Center for Child Mental Health, London และ Dr. Jaak Panksepp ได้เขียนไว้ว่าพฤติกรรมดื้อของเด็กนั้นส่วนหนึ่งมาจาก การที่เด็กรับรู้ถึงอารมณ์ที่ผันแปรของผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้าง

พฤติกรรมของเด็กมักจะได้รับผลกระทบมาจากอารมณ์ที่ผันแปรของผู้ใหญ่
เด็กสามารถรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ในผู้ใหญ่ได้ หากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดด้วยนั้นมีอารมณ์ที่ผันแปรอยู่ตลอดเวลา มีอารมณ์ที่ฉุนเฉียวง่าย โกรธง่าย เศร้าโศก ฉะนั้นการร้องให้ไม่หยุด การโกรธ การแสดงอาการโวยวายของเด็กอาจเป็นอีกหนึ่งของการระบาย หรือหาทางออกจากอารมณ์ที่ได้รับจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยนั่นเอง
ด้วยภาระกิจการดูแลเด็กเป็นงานที่หนักและมีความเครียด แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถควบคุมความเครียดได้ สิ่งแวดล้อมนี้จะส่งผลกระทบทำให้เด็กมีความเครียดตามไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เชื่อฟังคุณหรือคนรอบข้างได้ และเป็นผลให้คุณลงความเห็นกันว่าเด็กกำลังดื้อ
เหตุผลที่ส่งผลถึงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ คือ ในสมองส่วนหน้าด้านซ้ายของสมองเด็กที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่นั้น สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ หรือบรรยาการความเครียดได้ถึงหนึ่งในพันของหนึ่งวินาที
เด็กทารกสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ความตึงเครียดได้จากการสัมผัส การอุ้มจากผู้ใหญ่ เด็กทารกร้องไห้จ้าเมื่อได้อยู่ในสภาวะที่มีเสียงดังเอะอะ ครึกโครม เด็กที่อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีแต่ความเครียด การทะเลาะเบาะแวง จากผู้ใหญ่
สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่ออารมณ์ และจิตใจของเด็กได้ หากต้องถูกสั่งสมเป็นระยะเวลานาน ก็จะส่งผลถึงพฤติกรรม จิตใจ ความสำนึก ทำให้เด็กเป็นเด็กที่มีอารมณ์เก็บกด ไม่มีความสุขได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เด็กถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากเด็กอยู่ในครอบครัวที่มีแต่ความรัก บรรยากาศผ่อนคลาย มีแต่ความสุข ก็จะทำให้เด็กเป็นเด็กที่ผ่อนคลาย มองโลกในแง่ดี มีความสุข ฉะนั้นสิ่งแวดล้อมจากการเลี้ยงดูและจากการตัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับเด็ก จึงเป็นผลให้เกิดความสุขขึ้นได้กับเด็ก

อีกสาเหตุหนึ่งซึ่งสืบเนื่องมาจากสภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก คือการกระตุ้นผิดส่วนในสมองของเด็ก บ่อยครั้งที่สิ่งแวดล้อมได้กระตุ้นการรับรู้ของสมองเด็กไปในทางที่ไม่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น หากเด็ก อยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีแต่เสียงคำสั่งห้ามการกระทำใดๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น ห้ามทำ อย่า ไม่ คำพูดเหล่านี้ ส่งผลในการไปกระตุ้นระบบความกลัว Fear Systems ความโกรธ ความรุนแรง Rage Systems ในสมองเด็ก แต่ในทางตรงกันข้าม หากเด็กได้รับการสนับสนุน ให้มีการเล่นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ บรรยาการที่เต็มไปด้วยความรัก สิ่งแวดล้อมนี้จะช่วยส่งผลในการกระตุ้น Play Systems และ Care Systems ของสมองเด็ก ส่งผลให้สมองเด็กไม่ถูกกระตุ้นด้วยความเครียด เป็นผลให้เด็กเป็นเด็กที่มีจิตใจที่สงบ มีอารมณ์ที่มั่นคง สร้างความมั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ

ครั้งต่อไปหากคุณรู้สึกเครียด เหนื่อย หรืออยู่ในสภาวะที่อารมณ์แปรปวน ลองใช้เวลาปรับอารมณ์ซักพัก ก่อนที่จะโต้ตอบพฤติกรรมของลูกในทันที หรือหากเห็นว่าลูกกำลังทำอะไรที่คุณไม่เห็นด้วย ก่อนที่จะห้ามปรามทันที คุณลองชั่งใจและประเมินสถานการณ์ก่อนว่า หากพฤติกรรมนั้นๆ ไม่นำมาถึงความไม่ปลอดภัยของตัวลูก ลองใช้วิธีเสนอแนะข้างต้น และหันเหความสนใจให้ลูกเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นที่คุณคิดว่าเหมาะสม พร้อมคำอธิบายด้วยอารมณ์คงที่ของคุณ ก่อนที่จะห้ามปราม "อย่า แม่สั่งให้หยุดเดี๋ยวนี้" ก็จะเป็นผลดีต่อตัวลูกมาก

mothersdigest.in.th