โฆษณา

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

รับมือกับวัยต่อต้านอาหาร

ชุดเด็กเด็กหลวมกันลงรึเปล่าค่ะ


T.Berry Brazelton, M.D. หรือ ดร.แบรี่ บราเซลตัน ผู้เขียนหนังสือขายดีที่รู้จักกันดีเรื่อง Touchpoints (ทัชพอยต์) เป็นผู้ก่อตั้งแผนกพัฒนาการเด็กในโรงพยาบาลบอสตัน และเป็นศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ที่แผนกการแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้กล่าวไว้ว่า ในช่วงวัย 1 ขวบ พัฒนาการการกินของเด็กจะก้าวมาถึงจุดที่ลูกจะได้เรียนรู้ว่า อาหารไม่ได้มีไว้เพียงกินอย่างเดียวเท่านั้น แต่เขายังสามารถที่จะเล่นสนุกกับของกินตรงหน้าไปพร้อมๆ กับหม่ำเข้าไปในท้องได้ด้วย เขาสามารถที่จะตักอาหารกินเอง หรืออาจจะละเลงใส่บนพื้นเพื่อความสนุกสนานก็ได้ หรือแม้แต่จะปิดปากแน่น และไม่ว่าเขาจะออกฤทธิ์ออกเดชกับการป้อนของคุณแค่ไหนก็ตาม อย่าใจอ่อนกับเขาเป็นอันขาด

ในฐานะพ่อแม่คุณจำเป็นต้องหาโอกาสเหมาะๆ ที่จะป้อนข้าวให้เขาได้กินจนอิ่ม ในช่วงเวลาที่เขากำลังสนุกสนานกับอาหารตรงหน้า เรียกว่าได้ทำหน้าที่ผู้ดูแลเรื่องอาหารการกิน โดยไม่ไปขัดขวางความสนุกสนานของเขา ซึ่งบางครั้งคุณอาจต้องมีอาหารให้ลูกไว้ตักกินเองถ้วยหนึ่ง และคุณเองก็มีถ้วยหนึ่งไว้เพื่อป้อนลูก ถึงแม้มื้อนั้นจะเลอะเทอะไปบ้าง แต่ก็ทำให้ลูกเจริญอาหารได้มากขึ้นเช่นกัน

เมื่อลูกถึงวัยต่อต้านอาหาร
เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านของลูกวัยหนึ่งขวบในมื้ออาหาร ลองทำตามแผนทางเลือกนี้ดูซิ

อย่าอยู่ใกล้ๆ เพื่อคอยป้อนอาหารให้ลูก แต่ควรให้อาหารชิ้นเล็กๆ แก่ลูกสักสองชิ้น ในขณะที่คุณก็ทำงานในครัวต่อไป (ควรมองเห็นลูกไปด้วยได้)

ปล่อยให้ลูกเลือกอาหารด้วยตัวเอง

ให้ลูกได้ลองใช้เครื่องใช้ที่คุ้นเคยและไม่แตก เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มใช้ช้อนเป็นตอนอายุ 16 เดือน (ในประเทศญี่ปุ่นเด็กๆ เริ่มที่จะใช้ตะเกียบได้ตอน 18 เดือน! สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการลอกเลียนแบบผู้ใหญ่ และเป็นการเข้าสู่ขั้นตอนที่ยากขึ้น)

เมื่อลูกทำอาหารหล่นหมดทั้งสองชิ้น เติมให้ใหม่อีกสองชิ้น

เมื่อจะส่งอาหารให้ลูกลองทาน ให้อยู่ข้างหลังเขา ไม่ใช่ตรงหน้า

พยายามให้อาหารลูกครั้งละ 1 อย่าง เพื่อที่เขาจะได้มีสมาธิกับอาหารตรงหน้ามากขึ้น

เมื่อเขาเริ่มจะเล่นหรือเริ่มขว้างปาอาหารก็ถือว่าเป็นสัญญาณว่ามื้ออาหารนั้นควรสิ้นสุดได้แล้ว อุ้มลูกลงอย่างสงบ พูดกับลูกโดยไม่ต้องตำหนิติเตียน บอกเขาว่า เสร็จแล้วลูก

ไม่ต้องให้อาหารใดแก่ลูกเป็นพิเศษจนกว่าจะถึงมื้ออาหารว่าง สามารถช่วยเสริมในเรื่องสารอาหารแก่ลูกได้ แต่อย่าให้กินจุบจิบ เพราะการกินจุบจิบเป็นเหมือนวิธีที่พ่อแม่พยายามแอบให้ขนมลูก เมื่อเห็นว่าลูกไม่สนใจที่จะกินและนั่นก็จะทำให้ลูกไม่หิวเมื่อถึงเวลาอาหารจริง

เด็กในวัยนี้มักทำให้พ่อแม่ต้องเผชิญหน้ากับบทบาทใหม่ เมื่อพ่อหรือแม่ถามว่า ควรทำอย่างไร ถ้าเกิดอารมณ์โกรธลูก คำตอบก็จะมีแต่ว่า ไม่ต้องทำอะไร และเมื่อพ่อแม่ถามอีกว่า ควรทำอย่างไรเพื่อให้ลูกกินอาหารที่ครบถ้วน ก็ต้องตอบไปอีกครั้งว่า คุณไม่สามารถทำได้หรอก นี่อาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับพ่อแม่ เพราะมันไม่ง่ายเลยที่จะปล่อยให้เป็นเช่นนั้น แต่การปล่อยให้ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเขาเองจะเป็นผลดีต่อตัวเขาด้วย

แก้ไขล่าสุด: 2 พ.ย. 2554