โฆษณา

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไข้หวัีดใหญ่กับการตั้งครรภ์



       คณะนักวิจัยเดนมาร์ก เผย สตรีที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรือเป็นไข้นานกว่า 1 สัปดาห์ระหว่างตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะคลอดบุตรซึ่งมีอาการผิดปกติในกลุ่มออทิซึม (Autism)


          มีรายงานว่า คณะนักวิจัยเดนมาร์ก เผยผลการศึกษาเด็กวัย 8-14 ปี เกือบ 97,000 คน ในประเทศเดนมาร์ก พบว่า ช่วงปี 2540-2546 ในจำนวนนี้ร้อยละ 1 หรือ 976 คน มีอาการป่วยเป็นโรคออทิซึม (Autism) มีความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำ ๆ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่า ผู้ป่วยออทิสติก จากผลการวิจัย ยังระบุว่า มารดาที่มีประวัติระหว่างตั้งครรภ์ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หลายครั้ง ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นออทิสติกเพิ่มขึ้น 2 เท่า และหากมารดามีประวัติระหว่างตั้งครรภ์ว่าเป็นไข้นานกว่า 7 วัน ก่อนอายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ เด็กเสี่ยงเป็นออทิสติกเพิ่มขึ้น 3 เท่า

          อย่างไรก็ดี คณะนักวิจัยออกตัวว่า การเป็นไข้ระหว่างตั้งครรภ์กับการคลอดบุตรเป็นออทิสติกอาจเป็นเรื่องบังเอิญ จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดขึ้น แต่แนะนำว่าสตรีตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ก่อน เนื่องจากระยะเวลา 9 เดือนที่ตั้งครรภ์ร่างกายมักมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่าปกติ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกทางหนึ่งด้วย



จากเว็บ กระปุก

คุณแม่ นอนเต็มอิ่มแล้วทำไมยังง่วงอยู่?


ในยุคที่ต้องใช้กำลังกายและกำลังสมองทำงานอย่างหนักในระหว่างวัน จนเหนื่อยล้าอ่อนแรงไปตามๆ กันพอตกกลางคืนก็อยากจะรีบเข้านอนเพื่อจะได้พักผ่อนออมแรงไว้เผื่อวันรุ่ง ขึ้นจะได้ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นแจ่มใส แต่ที่ไหนได้ ขณะที่นั่งทำงานอยู่ดีๆ แต่เอ๊ะ! ทำไมจึงหาวออกมาเสียงฟอดใหญ่ แล้วรู่สึกเพลียมาก เห็นอะไรต่อมิอะไรที่อยู่ตรงหน้ากลายเป็นหมอนใบนุ่มน่าหนุนไปเสียอย่างนั้น ทั้งๆ ที่เมื่อคืนก็รีบเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพราะอยากมีสุขภาพดีเหมือนคนอื่นๆ ดูบ้าง ตื่นเช้ามาก็ไม่ค่อยจะสดชื่น แถมรู้สึกง่วงมากกว่าเดิมเสียอีก มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ถ้าอย่างนั้น เรามาหาคำตอบกันดีกว่าค่ะ

อย่าลืมนะคะว่าจิตใจที่แจ่มใสอยู่ในร่าง กายที่สมบูรณ์การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพของเรา เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในขณะที่เรานอนหลับนั้น ระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะพักตามไปด้วย การหายใจจะช้าลงอย่างสม่ำเสมอ มีการหลั่งฮอร์โมนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ในทางกลับกันหากนอนไม่พอ ร่างกายก็จะอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เกิดอาการเวียนศรีษะ คิดไม่ออก เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอ้วน จากการศึกษาพบว่า การนอนที่เพียงพอทำให้คุณรับประทานอาหารลดลง ลดความอยากรับประทานลงอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพก็อาจจะทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้ พักผ่อน และก็ทำให้อยากอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น

1.มีเรื่องไม่สบายใจ เครียดกังวลจนทำให้สมองรู้สึกเครียดอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว

2.เกิดลมในช่องท้องมากเกินไป ทำให้การไหลเวียนเลือดต่ำ และรวมถึงมีอาการท้องผูก ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว

3.ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นในระหว่างการนอนหลับมี อันตราย และทำให้เกิดความผิดปกดติอื่นจน ถึงเสียชีวิตได้ พบภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้บ่อยครั้งในคนอ้วน เพศชาย ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคความดันเลือดสูงจะทำให้สะดุ้งตื่นขึ้นมาบ่อย ในระหว่างนอนหลับ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง เพื่อหายใจ ทำให้เรารู้สึกเหมือนไม่ได้นอน

4.ภายในห้องอาจจะมีเสียงรบกวนอยู่ ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น เสียงหยดน้ำ เสียงเครื่องปั๊มน้ำ เสียงแอร์ที่ดังเกินไป เสียงพัดลม เสียงเข็มนาฬิกาเดิน เป็นต้น เสียงเหล่านี้อาจจะแทรกเข้าไปในความรู้สึกและคลื่นสมองของเราระหว่างนอนได้ ทำให้รบกวนการนอน และนอนไม่เต็มอิ่ม


มานอนหลับพักกายใจอย่างมีคุณภาพกันเถอะ1.บุหรี่ สุรา ชา กาแฟ เครื่องดื่มคาเฟอีนต่างๆ งดและลืมไปได้เลย อย่างน้อยๆ ก็ 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้กระตุ้นสมองและทำให้ปัสสาวะบ่อย จนรบกวนการนอนได้ แถมไม่ดีต่อสุขภาพอีกต่างหาก

2.เข้านอน และตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวันจนเคยชิน แรกๆ ก็อาจจะไม่คุ้นเคย แต่รับรองว่าเมื่อบ่อยครั้งเข้าจะชินไปเอง

3.จัดระเบียบการใช้ชีวิตให้ดีๆ สะสางปัญหาการงานที่คั่งค้าง และวิธีการแก้ไข เพื่อความสบายใจ และนอนหลับง่าย

4.ออกกำลังกายก่อนหน้าที่จะเข้านอนอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง จะช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น

5.จัด ห้องนอนให้สะอาด น่านอนไม่มีแสงรบกวน หมั่นทำความสะอาดเครื่องนอนอยู่เสมอ เอาไปตากแดดจัดๆ ป้องกันไรฝุ่น หาหมอนที่พอดีกับต้นคอ เพื่อช่วยให้นอนหลับสนิท ไม่ปวดต้นคอและหลังจะช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น

6.สวด มนต์ หรือนั่งพักผ่อนสบายๆ สักพักก่อนนอน เพื่อให้สมองคลายกังวลจากเรื่องเครียดๆ อาจจะฟังเพลงเพราะๆ สูดอากาศที่บริสุทธ์ หรือดมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบ

7.ดื่มน้ำอุ่น หรือนมอุ่นก่อนนอนจะช่วยในการนอนหลับ เพราะกรดอะมิโนทริปโตฟานทำให้ง่วงนอนได้ หลีกเลี่ยงการพูดหรือฟังเรื่องตื่นเต้น น่ากลัว เพราะจะกระตุ้นให้เราไม่หลับ

6 วิธีอาหารเช้าสำหรับคุณแม่

"การไม่กินอาหารเช้า" สาเหตุหลัก ๆมักมาจากการที่เราเลือกที่จะไม่กินมาโดยตลอดจนติดเป็นนิสัย และบางทีการรับประทานอาหารเย็นมื้อใหญ่ หรือกินของจุบจิบตลอดเวลาจนกระทั่งเข้านอน ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณรู้สึกไม่อยากกินอาหารเช้าก็เป็น ได้

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า "การงดรับประทานอาหารเช้า" โดยจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผลที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึง ก็คือ ร่างกายจะขาดความสามารถในการควบคุมน้ำหนัก...!! นั่นหมายความว่า คนที่ไม่กินอาหารเช้าเป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และมักจะมีพฤติกรรมเลือกที่จะบริโภคอาหารที่มีไขมัน แคลอรี่ และน้ำตาลสูงกว่าปกติ แถมยังเลือกที่จะกินผักและผลไม้น้อยลงกว่าปกติเสียด้วยซ้ำ

แต่ไม่ต้องตกใจไป คุณสามารถจะปรับพฤติกรรมนั้นได้ ลองเริ่มต้นตั้งแต่วันพรุ่งนี้ ด้วย 6 เคล็ดไม่ลับ เพื่อเติมพลังให้ร่างกายด้วยอาหารมื้อเช้า ดังนี้..
1.เริ่มต้นมื้อเช้ากับ "อาหารเบา ๆ ปริมาณน้อย ๆ"
ฝึกรับประทานอาหารมื้อเช้าด้วยเมนูอาหารที่ย่อยง่าย แต่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป สำหรับการเริ่มต้น เช่น ลองรับประทานเครื่องดื่มโปรตีนเชคกับผลไม้ หรือไข่ต้มสักลูก ตบท้ายด้วยผลไม้ซัก 2-3 ชิ้น แค่นี้ก็เป็นการเริ่มต้นในการรับประทานอาหารเช้าที่ดีและมีคุณค่าแล้ว

2."โปรตีน" สารอาหารสำคัญสำหรับมื้อแรก !
จาก การศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารเช้าโดยบริโภคโปรตีนในปริมาณสูง มีแนวโน้มที่จะลดแคลอรี่จากการบริโภคอาหารมื้อเย็นได้ต่ำกว่าผู้ที่รับ ประทานอาหารมื้อเช้าแบบปกติถึง 200 กิโลแคลอรี่ เนื่องจาก "โปรตีน" เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับมื้อเช้า เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายรู้สึก "อิ่ม" ได้นานแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัวไปตลอดทั้งวันอีกด้วย...ว้าว...

3.เปลี่ยน "อาหารมื้อหนัก" เป็น "ของว่าง" ที่กินได้เรื่อย ๆ
สำหรับ การฝึก "รับประทานอาหารเช้า" ให้เป็นนิสัยนั้น จริง ๆ แล้วคุณไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารทั้งมื้อให้หมดภายในครั้งเดียว แต่สามารถใช้เวลาไปกับอาหารมื้อนั้น ๆ ด้วยการละเลียดอาหารแต่ละอย่าง หรือเว้นช่วงการรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างอาหารคาว - อาหารหวาน เป็นต้น

4.ตื่นก่อนเวลาปกติ 15 นาที
"15 นาที" ที่เพิ่มขึ้นจากการที่คุณตื่นก่อนเวลาปกติอย่างที่เคย นอกจากคุณจะได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในยามเช้าแบบไม่ต้องเร่งรีบแล้ว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นระบบต่างๆ ภายในในร่างกาย ให้ค่อยๆ ตื่นตัวจากการนอนหลับและพร้อมที่จะผจญภัยกับภารกิจหนักต่างๆ ในช่วงวันอีกด้วย

5.เมนูไหน ๆ ก็เป็นอาหารเช้าได้เสมอ
ไม่เคยมีกฎ ตายตัวหรือข้อบังคับว่า เมนูอาหารชนิดใดบ้างที่ควรหรือไม่ควรเป็น "อาหารมื้อเช้า" เพราะเราเน้นที่คุณค่าของสารอาหารที่บริโภคเป็นหลัก ดังนั้น ไม่ว่าอาหารมื้อเช้าของคุณจะเป็นอาหารเหลือจากมื้อเย็นที่รับประทานไม่หมด ของเมื่อวาน หรืออาหารปรุงสำเร็จที่เราซื้อไว้นานแสนนานอยู่ในช่องแข็ง ทุกเมนูอาหารสามารถเป็น "อาหารมื้อเช้า" ได้เสมอ

6. มั่นใจแค่ไหน..กับ "กาแฟและมัฟฟิน" มื้ออาหารเช้า
มี อีกหลายคนที่ไม่ยอมรับประทานอาหารเช้า เพราะเชื่อว่า "แค่ดื่มกาแฟคู่กับมัฟฟิน" หรือเบเกอรี่อื่น ๆ สักชิ้นสองชิ้นก็อิ่มท้อง เทียบเท่ากับอาหารมื้อเช้าที่มีคุณค่าได้แล้ว แต่ในความเป็นจริง "แค่กาแฟกับมัฟฟิน" กลับให้พลังงานที่สูงกว่า 700 กิโลแคลอรี่ รวมทั้งมีไขมันไม่ดีที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของคุณถึง 6 ช้อนชา
การเริ่มต้นกินอาหารเช้าแบบไม่ฝืนความรู้สึก ทำได้ไม่ยาก เพื่อการมีสุขภาพที่ดีในอนาคต... ลองปรับพฤติกรรมการกินของคุณ โดยหันมาให้ความสำคัญกับ "การรับประทานอาหารมื้อเช้า" ซึ่งถือว่าเป็นอาหารมื้อแรกของวัน...เริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้...แล้วคุณจะพบ การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นสะท้อนให้เห็นจากร่างกายของคุณเอง...

การนอนของเด็กทารกสำคัญมากน่ะ !!!

เด็กแต่ละคนมีระยะเวลา ชั่วโมงการนอน หลับพักผ่อนแตกต่างกัน ตามนาฬิกาในสมอง (Biological clock) ตามธรรมชาติของแต่ละคน ในแต่ละวัยจะกำหนด
เจ้าตัวเล็กแรกเกิดใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน แต่พออายุเดือนมากขึ้นก็จะนอนน้อยลงเรื่อย ๆ อาจทำให้คุณคิดว่าเจ้าตัวเล็กนอนยากขึ้นหรือนอนไม่ได้นานเหมือนก่อน ซึ่งพฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็กที่เกิดขึ้น ทำให้คุณรู้สึกไม่เข้าใจจนเกิดความหงุดหงิดใจขึ้นได้ แต่ถ้าเราได้รู้จักธรรมชาติของพฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็ก ก็จะช่วยทำให้คุณเลี้ยงเขาอย่างเข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะชวนคุณไปทำความเข้าใจ พฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็กกันค่ะ
ความสำคัญของการนอนของเจ้าตัวเล็กนั้น มีผลต่อการเติบโตต่อร่างกาย เพราะการนอนหลับจะมีฮอร์โมนเรียกว่า โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมากระตุ้นให้ร่างกายเติบโต ใยประสาทจะเชื่อมโยงกับเซลล์ จึงทำให้สมองเติบโตด้วย ฉะนั้นเจ้าตัวเล็กที่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ก็จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เรียนรู้ได้มากแต่การนอนหลับของเจ้าตัวเล็กตามธรรมชาตินั้น ไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างที่เราเห็นนาฬิกาในสมอง จะกำหนดให้เจ้าตัวเล็กได้พักผ่อนตลอดเวลาของการนอนจริง ๆ ก็ต่อเมื่อได้หลับรวดเดียวประมาณเดือนที่ 6 ขึ้นไปแล้ว
พ.ญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่าเด็กทารกมีการนอนหลับไม่สนิทโดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ของชีวิต ซึ่งจะมีการเคลื่อนไหวของนัยตาอย่างรวดเร็วว่า Rapid eye movement สลับกับการหลับเงียบสนิทที่เรียกว่า Quiet sleep หรือ Non-rapid-eye-drop movement จึงทำให้บางครั้งนอนดิ้น ส่งเสียงครวญครางแต่ยังตื่นไม่เต็มที่ คุณไม่ควรเข้าไปอุ้มหรือให้กินนม เพราะจะเป็นการไปปลุกให้เด็กซึ่งกำลังหลับในช่วงหลับไม่สนิทให้ตื่นขึ้น แทนที่จะหลับต่อไปได้อีก
ข้อมูลจากหน่วยกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า พฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน โดยสามารถแจกแจงให้เห็นชัดเจนดังต่อไปนี้
  • 0 - 3 เดือน การหลับและตื่นของทารกแรกเกิดมักจะเฉลี่ยเท่า ๆ กันทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน เจ้าตัวเล็กจะนอนหลับวันละประมาณ 20 ชม. ต่อวัน แต่ในช่วงแรกมักจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน มีเวลาตื่นที่ไม่แน่นอน การนอนอาจเปลี่ยนไปทุกสัปดาห์และ จะปรับตัวมานอนตอนกลางคืนมากกว่าได้เองในไม่ช้า
  • 3 - 6 เดือน เจ้าตัวเล็กจะหลับกลางวันน้อยลง นอนกลางคืนมากขึ้น โดยจะหลับรวดเดียวไปจนถึงเช้า ไม่ตื่นมากินนมตอนกลางคืนเหมือนก่อน คุณก็ไม่จำเป็นต้องปลุก ให้เจ้าตัวเล็กตื่นขึ้นมาดูดนมหรือกลัวว่าจะหิว เพราะเขาได้กินนมไว้เต็มที่แล้วค่ะ ความต้องการนอนในช่วงนี้จะลดลงเป็น 15-16 ชม.
  • 6 - 12 เดือน ส่วนใหญ่จะสามารถนอนหลับได้นานรวดเดียวในเวลากลางคืน โดยจะไม่ตื่นมาดูดนมกลางคืนอีก ส่วนกลางวันก็จะหลับเป็นช่วงสั้น ๆ วันละ 2 ครั้ง รวมเวลาหรือความต้องการนอน 13-14 ชม.
เมื่อเด็กโตขึ้นระยะเวลาของการหลับสนิทก็จะเพิ่มขึ้นจาก 50% ไปจนถึง 70-80% ของระยะเวลาการนอนหลับทั้งหมด ทำให้รอบของการหลับมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่คือ หลับได้นานขึ้นแต่ระยะเวลาของการหลับสนิทก็ยังสั้นกว่าผู้ใหญ่อยู่ดี ซึ่งถ้ามีอะไรมาทำให้เด็กตื่นระหว่างการนอน ก็จะทำให้เด็กกลับไปหลับต่อเนื่องจากเดิมได้ยาก ทำให้เกิดปัญหา เช่น พอเจ้าตัวเล็กตื่นกลางดึกแล้วจะไม่ยอมนอนต่อ จะลุกขึ้นมาเล่นบางรายเมื่อถึงเวลานอนแล้วจะไม่ยอมนอน เป็นต้น
การหาสาเหตุหรือที่มา ของปัญหาเหล่านี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจเจ้าตัวเล็กและ หาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้อง เพราะการที่เจ้าตัวเล็กนอนยากหรือ นอนไม่ได้นานส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากสภาพกาย และสภาพจิตของเจ้าตัวเล็ก ดังนี้ 
  1. นอนกลางวันมากเกินไป เจ้าตัวเล็กที่นอนกลางวันมาก ๆ กลางคืนก็จะตาสว่าง เพราะไม่ง่วงจึงไม่ยอมนอน
  2. ไม่สบาย บางทีเป็นสัญญาณเตือนว่าเจ้าตัวเล็กอาจเริ่มเป็นไข้หวัด ตัวร้อน หรืออาจเกิดจากความไม่สบายตัว เช่น อากาศร้อนหรือหนาวเกินไปหรือแน่นท้อง เป็นต้น
  3. ไม่ได้ออกกำลัง ครอบครัวที่ทะนุถนอมเจ้าตัวเล็กมากจนเกินไป ไม่ค่อยปล่อยให้เด็กได้เล่น โดยเกรงว่าจะได้รับอันตรายทำให้เจ้าตัวเล็กไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน จึงหลับยากกว่าเจ้าตัวเล็กที่ได้เล่นสนุกจนเหนื่อย จึงหลับได้ง่ายและทำให้หลับได้สนิทกว่า
  4. ชดเชยเวลา คุณพ่อคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ทำให้รู้สึกว่าไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับเจ้าตัวเล็ก จึงพยายามชดเชยให้กับเขาในเวลาที่กลับมาบ้านตอนค่ำ ทำให้เลยเวลานอนจนเจ้าตัวเล็กตาแข็งนอนไม่หลับ
  5. มีสิ่งรบกวน เช่น ผู้ใหญ่ในบ้านดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุในห้องนอน แสงและเสียง จะทำให้เจ้าตัวเล็กนอนไม่หลับได้
  6. กังวลหรือหวาดกลัว เจ้าตัวเล็กที่ถูกขู่ว่าจะถูกทิ้ง เช่น มีน้องใหม่ ขู่ว่าตุ๊กแกจะมากินตับหรือถ้าไม่ยอมนอนจะให้ผีมาหลอก ฯลฯ การดูทีวีที่โลดโผนก่อนนอนอาจทำให้เขาฝันร้ายและสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ
  7. แปลกที่ การย้ายที่นอน เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่นอนไม่หลับเวลานอนแปลกที่ พ่อแม่พาไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้ว พักที่โรงแรมเจ้าตัวเล็กบางคนไม่ยอมนอนร้องกลับบ้าน จนพ่อแม่บางคนต้องยอมขับรถพาลูกกลับบ้านก็มี แต่ที่ถูกต้องควรปลอบโยนให้กำลังใจ ให้เขาปรับตัวได้ในที่สุด
ไม่มีปัญหาอะไรที่แก้ไขกันไม่ได้ถ้าคุณมีความรักและ ความเข้าใจเป็นสายใยในครอบครัว การรู้จักธรรมชาติของภาวะการปรับตัวของทารก โดยเฉพาะพฤติกรรมของเจ้าตัวเล็กแต่ละขวบวัย การรู้ที่มาของการนอนน้อยลง การนอนไม่หลับ หลับยากขึ้น จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีอย่างมีสติและ เชื่อว่าสามารถลดความเครียดทั้งของเจ้าตัวเล็กและของคุณได้ค่ะ

ถ้าเด็กท้องเสีย คุณแม่ควรทำอย่างไร

สำหรับการดูแลเด็กท้องเสียนั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของโรคก่อน โดยทั้งนี้ โรคอุจจาระร่วงหรือท้องเสีย เป็นโรคที่พบได้บ่อย หากเด็กได้รับการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสม หรือล่าช้า อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้เด็กเสียชีวิตได้ หรือเกิดปัญหาท้องเสียเรื้อรังได้ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในภายหลัง

สาเหตุ
๑. การติดเชื้อในลำไส้ ที่พบได้บ่อยคือเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทารกอายุต่ำกว่า ๖ เดือนมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น Salmonella หรือ E.coli ส่วนทารกอายุมากกว่า ๖ เดือนจะพบเชื่อไวรัส และที่พบได้บ่อยคือโรต้าไวรัสซึ่งเป็นมากในฤดูหนาว
๒. แพ้นมวัวหรืออาหาร เช่น ไข่ขาว อาหารทะเล ทารกขวบปีแรกมักพบอาการแพ้นมวัว มีอาการท้องเสียนานกว่าปกติร่วมกับมีผื่นแดงขึ้นที่แก้ม เป็นๆหาย
๓. แพ้ยาปฏิชีวนะบางชนิด บางชนิด เช่น amoxicillin, erythromycin
๔. ความผิดปกติแต่กำเนิด ของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร
อาการ
ถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า ๑ ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกเลือดปน ๑ ครั้งขึ้นไปเด็กที่มีอาการท้องเสียอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาเจียน โดยเฉพาะโรต้าไวรัส จะมีอาการอาเจียนมาก

ภาวะแทรกซ้อน
๑. ภาวะขาดน้ำ จากการเสียน้ำและเกลือแร่ทางอุจจาระและอาเจียน ทารกจะเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย หากรุนแรงอาจทำให้ช็อก ไตวายและเสียชีวิตได้
๒. ภาวะขาดอาหาร หากท้องเสียนาน ๑-๒ สัปดาห์ ทำให้ขาดอาหาร และส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองได้
๓. การติดเชื้อลุกลาม เชื้อโรคในลำไส้บางชนิดลุกลามเข้ากระแสเลือดได้ ซึ่งเป็นภาวะที่อันตราย หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้
ลักษณะของอาการขาดน้ำ
๑. ขาดน้ำเล็กน้อย ปากแห้ง กระหายน้ำ
๒. ขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง ปากแห้งมาก กระหายน้ำมาก ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ตาโหล กระหม่อมบุ๋ม ซึม กระสับกระส่าย ปัสสาวะน้อยลงและสีเข้ม อ่อนเพลียมาก ถ้ามือเท้าเริ่มเย็น ซีด แสดงว่าเริ่มมีอาการช็อก
การดุแล
การป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส ชดเชยในปริมาณ ๒-๓ ออนซ์ต่อการถ่ายเหลว ๑ ครั้ง
การรักษาและแก้ไขภาวะขาดน้ำ โดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์ คือ ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสให้ได้มาก๔-๖ชั่วโมงแรก อาจใช้ช้อนตักป้อนเพื่อให้ค่อยๆดูดซึม
การรักษาภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
การผสมน้ำตาลเกลือแร่
น้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสเป็นผงบรรจุในซอง หนึ่งซองผสมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 240 ซีซี มีชนิดรสผลไม้รวม หากเด็กไม่ยอมรับประทานอาจเปลี่ยนเป็นน้ำข้าวหรือน้ำต้มซุบใส่เกลือแทนก็ได้
การให้อาหาร
ที่เหมาะสม มีส่วนช่วยให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการขาดอาหารด้วย ดังนั้นควรเลือกอาหารที่เหมาะสม ให้รับประทานครั้งละน้อยๆและให้บ่อยๆ เพื่อให้ลำไส้ค่อยๆย่อยและดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย หากให้อาหารเร็ว ลำไส้ย่อยและดูดซึมไม่ได้ก็จะมีอาการท้องเสียตามมาอีก
เมื่อมีอาการท้องเสียให้ดื่มน้ำตาลเกลือแร่ภายใน 4-6 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นจึงให้นม เด็กที่กินนมแม่ก็ให้กินนมแม่ต่อไป เด็กที่กินนมผสมให้ชงนมเหมือนเดิม ให้ปริมาณน้อยลงแต่บ่อยขึ้น เพื่อให้ได้รับสารอาหารในแต่ละวันอย่างพอเพียง อาหารเสริม ควรให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก งดอาหารย่อยยากโดยเฉพาะอาหารไขมันสูง งดน้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก
การป้องกัน
๑. ทารกควรได้กินนมแม่ให้นานที่สุด โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก เพราะนมแม่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีภูมิคุ้มกันซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ได้ดี อีกทั้งสะอาด ประหยัดและปลอดภัย
๒. การเตรียมนมผสม ต้องล้างขวดนมให้สะอาดและต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที หรือใช้เครื่องนึ่งขวดนม นมที่ชงแล้วเด็กกินไม่หมด ไม่ควรเก็บไว้ให้เด็กกินต่อในมื้อต่อไป นมอาจบูดทำให้เด็กท้องเสียได้
๓. การเตรียมอาหารเสริมให้เด็ก ต้องดูแลความสะอาดของภาชนะ ผลไม้ต้องล้างน้ำหลายๆครั้งจนแน่ใจว่าสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารเคมีตกค้าง
๔. ให้เด็กรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
๕. ผู้ดูแลเด็กควรมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี

ที่มา ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก lovelykidsthai.com