โฆษณา

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

สอนใ้ห้ลูกรู้จักคำว่า แพ้

หนูน้อยก่อนวัยเรียนมักจะมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์

เนื่องจากพัฒนาการทางภาษายังพัฒนาไม่เต็มที่ แม้ว่าเด็กๆ ในวัยนี้จะดูรู้เรื่องมากแล้วก็ตาม ในขณะเดียวกันหนูๆ ก็ยังไม่รู้ว่าควรจะสื่อสารความรู้สึกของตัวเองอย่างไร ด้วยเหตุนี้เราจึงมักจะพบว่าเจ้าตัวเล็กก่อนวัยเรียนมักมีอารมณ์ฉุนเฉียว รุนแรงก้าวร้าว

เมื่อไม่ได้อย่างที่ตนเองต้องการ ดังนั้นหากลูกมีอาการงอแง หงุดหงิด เมื่อพ่ายแพ้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ช่วยลูกสำรวจอารมณ์ และสอนคำแสดงอารมณ์แก่เจ้าตัวเล็ก เช่น เสียใจ โกรธ ดีใจ สนุก ผิดหวัง เมื่อลูกมีอาการหัวเสีย คุณอาจจะลองถามลูกว่า ลูกกำลังโกรธหรือจ๊ะ หรือ ลูกเสียใจหรือเปล่า เพื่อให้เด็กๆ ได้หยุดและฝึกสังเกตอารมณ์ของเขาเอง เป็นตัวอย่างที่ดี

หากคุณเป็นคนใจร้อนและมักแสดงอารมณ์โกรธต่อหน้าลูก ก็ไม่แปลกเลยที่เด็กจะทำเช่นนั้นบ้าง ดังนั้นหากคุณต้องการให้ลูกรับมือกับความพ่ายแพ้ หรือรับมือกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นไปตามที่หวังอย่างสงบ คุณก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นด้วย รู้ชนะแล้ว รู้แพ้บ้างดีกว่า

เมื่อพูดถึงเรื่องเกมกีฬา คงจะหนีคำว่าแพ้-ชนะไปไม่ได้ บ่อยครั้งที่พ่อแม่เล่นกับลูก ก็ยอมให้ลูกชนะจนเคยตัว เมื่อหนูน้อยเข้าสู่วัยเรียน ไปเล่นกับเพื่อนๆ แล้วแพ้ก็รับไม่ได้ โวยวาย ร้องไห้ จนเพื่อนๆ พากันงง ซึ่งเรื่องแพ้ชนะนั้นเป็นกฎธรรมดาที่เกิดขึ้นในทุกๆ สังคม และการที่คุณจะสอนให้ลูกได้เรียนรู้บทเรียนนี้เสียตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต ก็น่าจะเท่ากับว่าคุณได้สอนให้ลูกได้รู้จักวิธีการใช้ชีวิตในสังคมให้เป็นสุขต่อไปด้วย

หากคุณมีโอกาได้ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกับลูก ซึ่งต้องมีการแข่งขัน นั่นหมายความว่าในเกมนั้นย่อมมีผู้แพ้และผู้ชนะ คุณอาจเริ่มสอนลูกให้รู้จักแพ้อย่างสง่ามงามได้ในด้วยวิธีการต่อไปนี้ เล่นเกมวัดดวง เลือกเกมที่ต้องใช้การวัดดวง เช่น เปิดไพ่จับคู่ ทายเหรียญหัวหรือก้อย กระทั่งเกมง่ายๆ อย่างเป่า-ยิ้ง-ฉุบ

เพราะหากลูกแพ้นั่นก็เป็นเพราะดวงไม่ใช่เพราะว่าคุณแกล้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าตัวดีจะได้ฝึกรับมือกับอารมณ์เมื่อยามที่เขาต้องแพ้ดูบ้าง สร้างข้อตกลงดีๆ เพื่อไม่ให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกแย่เกินไปที่ต้องแพ้ คุณอาจสร้างข้อตกลงดีๆ เช่น ผู้แพ้จะได้เลือกขนมหวานในมื้อเย็น หรือ ได้ดูนิทาน 1 เรื่อง

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้ควรใช้เฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ฝึกเจ้าตัวเล็กเท่านั้น และเมื่อเห็นว่าลูกรับมือความพ่ายแพ้ได้ดีขึ้น และมองว่าการแพ้เป็นเรื่องธรรมดา คุณก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อเสนอนี้อีกต่อไป แพ้ให้ลูกดู

หากคุณแพ้ (ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) คุณอาจแสดงอารมณ์หัวเสียเล็กน้อย เช่น แพ้อีกแล้ว! แต่ไม่เป็นไร คราวหน้าแก้ตัวใหม่ก็ได้ เพื่อให้ลูกรู้สึกว่ามันไม่เป็นไรถ้าจะมีอารมณ์หงุดหงิดบ้าง

แต่ก็ต้องควบคุมอารมณ์ไว้ และสามารถแก้ตัวใหม่ได้ เล่นอีกครั้ง ถ้าเจ้าตัวน้อยแพ้และเขารู้สึกไม่พอใจ ลองเสนอให้เล่นเกมนั้นอีกครั้ง แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าหากลูกแพ้อีก ลูกต้องยอมรับ และวันต่อไปค่อยมาแก้ตัวกันใหม่ ให้กำลังใจ

ตั้งกฎขึ้นมาว่าผู้ชนะต้องพูดกับผู้แพ้ว่า ทำได้ดีแล้ว ในทุกๆ เกมที่เล่น และห้ามเยาะเย้ย ชมความพยายาม

คุณควรใส่ใจในความพยายามเล่นเกมของลูก มากกว่าผลของเกมที่ว่าเจ้าตัวเล็กแพ้ ดังนั้น เมื่อเกมจบลงและเจ้าตัวน้อยพ่ายแพ้ ก็ควรทำให้เขารู้ว่าคุณเห็นความพยามของเขาแล้ว

และเขามีโอกาสที่จะชนะได้แน่ๆ ไม่มีใครไม่เคยแพ้ และการที่คุณเป็นผู้สอนบทเรียนเรื่องความพ่ายแพ้ให้กับลูกนั้นก็น่าจะดีเสียว่า

ที่เจ้าตัวเล็กต้องไปเรียนรู้ความพ่ายแพ้จากคนอื่น คนที่เขาอาจหัวเราะเยาะลูกของคุณ และพากันนำพฤติกรรมขี้แพ้ชวนตีของลูกไปว่าลับหลัง เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว บทเรียนแห่งความพ่ายแพ้ของลูกนั้นคงจะมีราคาค่างวดและบาดแผลที่จะตราตรึงอยู่ในใจลูกน้อยนานจนเกินไปก็เป็นได้